จะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณจะมีความสุขในวัยเกษียณ
ในวัยทำงาน ใจก็คิดอยากจะก้าวหน้า ร่างกายทำงานหนัก เวลาพักผ่อนต้องพักผ่อนให้สุดเหวี่ยง วาดฝันว่าอยากเกษียณเร็ว แต่น้อยคนเหลือเกินที่ทำได้อย่างนั้น
เรามีการสอบถามผู้เกษียณอายุที่หยุดทำงานมาแล้วหลายปีว่าถ้าหากย้อนเวลากลับไปได้ มีสิ่งใดที่อยากแก้ไขหรือเตรียมตัวให้ดีขึ้นก่อนจะถึงวัยเกษียณ คำตอบที่ได้แม้จะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่ก็น่าจะเป็นบทเรียนและเคล็ดลับสำคัญที่จะได้นำไปเป็นข้อแนะนำให้กับคนวัยลูกหลานที่กำลังจะก้าวตามไปในไม่ช้าซึ่งมีดังนี้
คนเรามีเวลาที่จะยังมีแรงทำงานจริงๆ ก็ช่วงอายุ 20-60 ปี เวลา 40 ปีในชีวิตการทำงานอาจดูเหมือนนาน แต่เอาเข้าจริงเมื่อมีเรื่องหน้าที่การงาน สังคม เพื่อน ครอบครัว ความรัก ลูก ฯลฯ เข้ามา เวลานั้นจะผ่านไปไวราวกับติดปีก เผลอแป๊บๆ เราก็ฉลองปีใหม่กันอีกแล้ว เพื่อนที่เพิ่งแต่งงานไปหมาดๆ ก็คุยกันเรื่องเลือกโรงเรียนให้ลูก ส่วนเรา เผลอแป๊บๆ ลูกก็แต่งงาน ได้เลี้ยงหลาน ดูสิ วัยเกษียณมาเร็วจะตาย
พอรู้ตัวว่าเงินออมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายก็มารู้เอาตอนที่ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำงานแล้ว ชีวิตเกษียณคงไร้ความสุขแน่ ดังนั้นจึงไม่มีช่วงไหนเร็วเกินไปที่จะถามตัวเองว่าเรามีเงินเก็บบ้างไหม และเงินที่เก็บไว้ “พอหรือเปล่า?”
จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ ปี 2557[1] ผู้สูงวัยในไทยมีแนวโน้มมีเงินออมเพิ่มขึ้นจริง (ผู้สูงอายุ 76.1% ให้ข้อมูลว่ามีเงินออม) แต่มีเพียง 10.05% ที่มีเงินออมเกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป ในขณะเดียวกัน จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการรักษาโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุยุคนี้ (คือ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1.5 ล้านบาท “ต่อคน” และ “ต่อโรค”
นี่ยังไม่รวมค่ากินอยู่ประจำวัน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าซ่อมบ้าน และยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะ เช่น ค่าใส่ซองงานแต่ง งานบวช งานศพ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้หมดไปพร้อมกับรายรับที่ลดลงหลังเกษียณ
เราควรเริ่มเก็บออมเงินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีละเล็กทีละน้อยก็ยังดี และเริ่มศึกษาหาวิธีสร้างรายได้ที่ยั่งยืนไปจนถึงเวลาหลังเกษียณ หารายได้เล็กๆ น้อยๆ จาก หลายๆ ทางที่จะเติมเงินเก็บที่พร่องไปจากค่าใช้จ่ายประจำวัน การเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีตั้งแต่วันนี้ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มเงินออมและสะสมเงินไว้ช่วยในยามเกษียณได้
“พรุ่งนี้ค่อยเบิร์น” “ปาร์ตี้นิดหน่อยเอง” “แค่นี้ไม่เสียหายหรอก” กี่ครั้งแล้วนะ ที่เราบอกตัวเองและผลัดวันประกันพรุ่งกับการดูแลสุขภาพร่างกาย
ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปเสียแล้ว การไปพบแพทย์แต่ละครั้งนอกจากจะไม่สนุกแล้วยังมีค่าใช้จ่ายที่ตามมามหาศาล ยิ่งอายุมาก โอกาสที่โรคจะรุมเร้าก็มากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อเนื่องก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
ในปี 2556 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยทางด้านของภาวะการเป็นโรคเรื้อรังและพบว่าผู้สูงอายุไทยเป็นโรคความดันโลหิต ร้อยละ 41.4 โรคเบาหวาน ร้อยละ 18.2 และโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 8.6
จากข้อมูลโรคเรื้อรังทั้งสามโรคนี้ พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น อย่างเช่นในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 45.6 เป็น โรคความดันโลหิต ร้อยละ 17.2 เป็นโรคเบาหวาน และร้อยละ 9.6 เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
สุขภาพที่ดีเริ่มจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ โรคเรื้อรังส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพทั้งนั้น ผลวิจัยทุกที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้สูงวัยที่ออกกำลังกายมาตั้งแต่ยังเป็นวัยหนุ่มสาวจะมีโอกาสเกิดโรคน้อยกว่า ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อย และสุขภาพโดยรวมดีกว่าผู้สูงวัยที่ไม่ออกกำลังกายมากทีเดียว
เรามีแบบประกันหลากหลายที่จะช่วยให้คุณเตรียมเก็บเงินออมเอาไว้ใช้ในวัยอิสระได้ ปรึกษาตัวแทนของเราวันนี้เพื่อการวางแผนวัยเกษียณที่มั่นคงในบั้นปลายชีวิต