ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ การดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุขแบบธรรมดาเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทุกคนต้องหันมาใช้ชีวิตในยุคของโรคระบาดอย่างโควิด-19 และใส่ใจสุขภาพที่มากขึ้นกว่าที่เคย แถมการเกิดโรคระบาดในครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบที่ดูจะร้ายแรงกับการใช้ชีวิตของหลายๆ คน มากเป็นวงกว้าง ห้างร้านและธุรกิจเริ่มปิดตัวลงอย่างน่าเศร้า หลายๆ คนเริ่มตกงาน ขาดรายได้ บางคนต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ อะไรที่ทำได้ก็ทำไปก่อน เรียกว่าปัญหาในการใช้ชีวิตมากขึ้น ดังนั้น ลองปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายกันใหม่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ตัวเอง และเพื่อครอบครัว เราหันมาวางแผนการเงินและค่าใช้จ่ายในยุคโควิด -19 กันค่ะ
วิธีการวางแผนการเงินเพื่ออนาคตที่สดใส วางแผนง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1.ต้องรู้ว่ารายรับ- รายจ่ายของตนเองในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง เพื่อง่ายต่อการคำนวณการวางแผนการเงินในแต่ละเดือน ซึ่งมนุษย์เงินเดือนที่มีงานประจำหลายๆ คนจะรู้รายรับของตัวเองในแต่ละเดือนที่แน่นอน เป็นสิ่งที่ดีสามารถวางแผนได้ง่ายขึ้น ในการคิดรายรับ - รายจ่ายในแต่ละเดือน แต่ถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีงานประจำเป็นหลักแหล่งหรือทำงานฟรีแลนซ์ แต่ละเดือนได้รายรับที่ไม่เท่ากัน รายจ่ายอาจจะเท่าเดิมหรือมากขึ้น ก่อนจะวางแผนการเงินหรือการใช้จ่ายต่างๆ อาจจะต้องใช้วิธีกำหนดรายรับแบบคาดคะเน ที่เป็นค่าแรงคงที่เอาไว้ก่อน ว่าเดือนนี้เราต้องมีรายรับเข้าทุกเดือนเท่าไหร่ ตั้งเป็นตัวเลขที่ชัดเจนไปเลย ถ้าเดือนนั้นได้รายรับที่มากกว่าถือว่าเป็นโบนัสเอาไว้เก็บไว้เพื่อเดือนถัดไปไม่ได้ยอดที่ตั้งเอาไว้จะได้รับมือได้ทัน เมื่อได้ตัวเลขของรายรับแล้ว นำมาคำนวนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนต่อไป
2.กำหนดเป้าหมายการใช้เงินในแต่ละเดือน โดยแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เมื่อเราทราบรายรับของเราในแต่ละเดือนแล้ว ลองแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน หลักๆ ดังนี้
-เงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนชำระเป็นงวด เริ่มจากคำนวณค่าใช้จ่ายที่เราต้องชำระในแต่ละเดือนของเราก่อน ไม่ว่าจะเป็น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าหนี้บัตรเครดิต รวมถึงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ต่างๆ ที่เราทราบยอดชำระอยู่แล้ว มาบวกและแยกส่วนนี้ออกมาเป็นส่วนที่หนึ่ง และการชำระหนี้ในส่วนนี้ต้องทำอย่างมีวินัย โดยเฉพาะบัตรเครดิตต่างๆ ที่สามารถรูดได้ตลอดเวลา อาจจะต้องจำกัดความจำเป็นให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินที่ตามมาแบบไม่รู้จบ
- เงินสำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยกำหนดเป้าว่าเดือนนี้เราจะใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ คำนวนสิ่งที่เราต้องใช้จ่ายในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละวัน ให้ลองใช้จ่ายเงินในส่วนนี้ให้อยู่ในวงเงินที่เราแบ่งเอาไว้ให้ได้ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะคุมลำบากแต่ลองวางเป้าในส่วนนี้ดูแล้วฝึกทำให้ชินเดี๋ยวก็จะเป็นนิสัยไปเอง
- เงินสำหรับออมหรือเป็นเงินเก็บไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน ในส่วนนี้บางคนอาจแบ่งส่วนมากน้อยต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเรานั้นวางแผนการใช้จ่ายเพียงพอไม่กระเบียดกระเสียรมากจนเกินไปอาจจะทำให้เครียดไป แต่ส่วนนี้ก็สำคัญต้องทำให้ได้เช่นกัน เพราะการออมเงินเป็นสิ่งที่ดีและช่วยให้เรามีเงินใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน อาทิ การเจ็บป่วยที่ไม่คาดคิดจำเป็นต้องใช้จ่ายในส่วนนี้ รวมไปถึงกรณีที่อาจจะตกงานก็เป็นไปได้ เงินในส่วนนี้จึงสำคัญและจำเป็นต้องฝึกวินัยในการออมนี้ให้ได้เพื่ออนาคตของตัวเราและอาจจะรวมถึงการดูแลครอบครัวของเราด้วย
3.ใช้จ่ายอย่างประหยัดและระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าที่เคย ในยุคโควิดแบบนี้ ออกไปไหนมาไหนก็ลำบาก ค้าขายก็ยากขึ้น เศรษฐกิจก็เริ่มจะไม่สู้ดีนัก เราควรวางแผนการใช้เงินให้รอบคอบขึ้น ประหยัดอะไรได้ก็ควรทำ อะไรตัดได้ก็ควรตัด การใช้จ่ายในแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นให้มากที่สุด ใช้จ่ายอย่างมีสติ ถึงแม้ว่าหลายๆ คนยังมีงานประจำ หรือมีรายได้ที่เข้ามาให้ได้ใช้ทุกเดือน แต่อาจจะไม่แน่นอนอีกต่อไป ให้คิดเสมอว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราขาดรายได้หรือตกงานกะทันหัน ดังนั้นการประหยัดใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นถือเป็นการลดค่าใช้จ่าย และทำให้เรามีเงินเก็บที่มากขึ้นตามไปด้วย ต่อให้ตกงานหรือต้องใช้เงินในเรื่องฉุกเฉินขึ้นเชื่อว่าเราจะผ่านปัญหานี้ไปได้แบบไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันแน่นอนค่ะ
อีกหนึ่งคำแนะนำสำหรับช่วงสถานการณ์โควิด-19 โรคติดต่อที่ถือว่าร้ายแรงและไม่มีใครอยากจะเจ็บป่วยด้วยโรคนี้หรืออาจรวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจจะเกิดกับตัวเราเอง การลงทุนกับประกันสุขภาพก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระเราได้ในยามเจ็บป่วย เพื่อให้เราไม่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากไปกับการรักษาพยาบาลเอง เพราะประกันจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ รวมไปถึงการที่ต้องกักตัวระหว่างการรักษาหรือสังเกตอาการจนทำให้ขาดรายได้ และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน การแบ่งเงินจำนวนนึงเพื่อสุขภาพช่วงนี้ถือว่าสำคัญมาก นอกจากช่วยค่ารักษาพยาบาลได้แล้ว บางแผนก็ยังมีค่าชดเชยระหว่างรักษาตัวให้อีกด้วย ดังนั้นการซื้อประกันสุขภาพดีๆ สักตัวเป็นอีกหนึ่งที่ควรจะพิจารณากันเพื่อครอบครัวและคนที่คุณรักในอนาคต เป็นอีกการลงทุนที่น่าสนใจเลยทีเดียวค่ะ
AIA HB EXTRA | สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มชดเชยรายได้ |
---|---|
ระยะเวลาความคุ้มครอง | สูงสุดถึงอายุ 80 ปี |
อายุผู้ขอเอาประกันภัย | 1 เดือน – 70 ปี |
ช่องทางการขาย | ตัวแทน |
• ค่าชดเชยรายวันเมื่อเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล รวมกรณี Day Case
• กรณีนอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) รับเงินชดเชยรายวันเพิ่มเป็น 3 เท่า ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
• ค่าชดเชย 5 เท่า** ของจำนวนเงินเอาประกันภัย กรณีเข้ารับการผ่าตัด โดยการวางยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง โดยวิสัญญีแพทย์
• ค่าชดเชย 25 เท่า* ของจำนวนเงินเอาประกันภัย กรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน เนื่องจากโรคร้ายแรงเฉียบพลัน 13 โรค*
• ค่าใช้จ่ายหมวดยากลับบ้าน 1 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย หลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล รวมกรณี Day Case ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายหมวดยากลับบ้าน
• ค่าชดเชย 10 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย กรณีเสียชีวิต
• รับสิทธิสมาชิกโครงการ AIA Vitality เพื่อรับส่วนลดเบี้ยประกันภัยสุขภาพสูงสุด 15% และสิทธิประโยชน์มากมาย รายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ป่วยใน หมายถึงอะไร
ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน โดยได้รับการวินิจฉัย และคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ และในระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยนั้นๆ และให้รวมถึงกรณีรับตัวให้เป็นผู้ป่วยในแล้วต่อมาเสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมง
โรคร้ายแรงเฉียบพลัน 13 โรค* ของสัญญาเพิ่มเติม AIA HB EXTRA
1. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
2. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
3. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
4. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก
5. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง
6. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
7. แผลไหม้ฉกรรจ์
8. ภาวะโคม่า
9.สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
10.การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ
11.การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
12.การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
13.โรคคาวาซากิที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของหัวใจ
• สามารถแนบท้ายสัญญาเพิ่มเติมได้ตามอายุรับประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมนั้นๆ หรือจนถึงกำหนดสัญญาของกรมธรรม์ประกันภัยหลัก (แล้วแต่เวลาใดถึงก่อน)
• การตรวจสุขภาพและการพิจารณารับประกันภัยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
• สัญญาเพิ่มเติมเป็นสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 1 ปี ซึ่งอาจต่ออายุได้
• บริษัทสงวนสิทธิ์ในการปรับเบี้ยประกันภัยในรอบปีกรมธรรม์ อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ขั้นอาชีพ ประสบการณ์การจ่ายสินไหมทดแทนของบริษัท เป็นต้น สำหรับสัญญาเพิ่มเติมกลุ่มค่ารักษาพยาบาล อาจมีปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น อัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
• ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
• เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมนี้ ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากความคุ้มครองไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้
• ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใดๆ อาจะเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา
*ตามคำนิยามของสัญญาเพิ่มเติม AIA HB EXTRA โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์นี้เพียงหนึ่งครั้งไม่ว่าจะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงเฉียบพลันกี่โรคก็ตาม ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง และบริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์นี้ในกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครั้งต่อๆ ไป เนื่องจากภาวะแทรกซ้อน หรือภาวะสืบเนื่องที่เกิดจากโรคเดียวกัน
**ได้รับการผ่าตัดโดยวางยาสลบ (Anesthesia) หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (Spinal Anesthesia) โดยบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์นี้เพียงหนึ่งครั้ง ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง