สุขภาพกาย
ก้าวแรกสู่การป้องกันมะเร็งเต้านม

แม้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจะไม่ได้ช่วยป้องกันโรคนี้ได้โดยตรง แต่สามารถช่วยให้พบเซลล์ผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งทำให้การรักษาง่ายขึ้น วิธีการตรวจมีทั้งการตรวจด้วยตนเอง (Breast Self-Exam - BSE) และการตรวจโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (Clinical Breast Exam - CBE) รวมถึงการตรวจแมมโมแกรม (Mammography)

วิธีง่าย ๆ ตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำได้ทุกเดือน

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ควรทำอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง หลังมีประจำเดือน 7-10 วัน วิธีการมีดังนี้:

1. การสังเกตด้วยตา

วางมือข้างลำตัวในลักษณะผ่อนคลาย

  • เปรียบเทียบเต้านมซ้ายและขวา
  • สังเกตมีการเปลี่ยนแปลงในขอบ รูปทรง สีผิวหนังหรือไม่
  • ตรวจเช็คมีรอยบุ๋ม ยุบย่น หรือการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
  • ตรวจสอบดูหัวนมเพื่อสังเกต หัวนม แผล สะเก็ด ความมัน หรือมีของเหลวออกจากหัวนมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดบ้าง

ยกมือขึ้นไว้เหนือศรีษะ

  • มองจากด้านหน้าและมองจากด้านข้าง เพื่อสังเกตมีรอบบุ๋ม หรือยุบย่นที่เต้านมหรือไม่
  • ตรวจสอบความสมดุลของรูปทรงเต้านม

วางมือไว้ที่เอว เกร็งอก และก้มตัวลงมาด้านหน้า

  • ตรวจสอบตำแหน่งของหัวนม
  • ตรวจสอบดูความสมดุลของรูปทรงเต้านม
  • สังเกตว่า เต้านมทั้งสองข้างห้อยลงมาปกติหรือไม่

2. การคลำด้วยมือ

  • ใช้บริเวณกึ่งกลางนิ่วส่วนบนทั้งสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) ในการคลำ
  • น้ำหนักในการคลำ 3 ระดับ
    • กดเบา ๆ เพื่อให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง
    • กดปานกลาง เพื่อให้รู้สึกถึงกึ่งกลางของเต้านม
    • กดหนักขึ้น เพื่อให้รู้สึกได้ถึงส่วนลึกใกล้ผนังปอด
  • บริเวณที่ต้องคลำเริ่มต้นจากข้างลำตัวใต้ขอบด้านล่างเสื้อในขึ้นไปจนถึงบริเวณไหปลาร้า และจากบริเวณใต้แขนข้างลำตัวไปจนถึงบริเวณแกนกลางลำตัว

มาเริ่มต้นการคลำกันเลย

  1. เริ่มต้นโดยการนอนราบ เอาผ้าเช็ดตัวพับสอดใต้ไหล่ แล้วยกแขนขึ้นไว้เหนือศรีษะ
  2. คลำในแนวขึ้นลงจากใต้แขนข้างลำตัว คลำด้วยนิ้วทั้ง 3 และกด 3 ระดับ เคลื่อนลงไปทีละช่วงความกว้างของนิ้ว อย่ายกนิ้วขึ้นจากเต้านมหลังจากเริ่มต้นคลำ
  3. จากนั้นคลำขึ้นลงจนถึงกระดูกกลางลำตัว และให้มั่นใจว่าคลำทั่วทั้งเต้านม
  4. ทำซ้ำแนวเดียวกันนี้กับเต้านมอีกข้างหนึ่งกลับมายังรักแร้

สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ ควรเอาผ้าเช็ดตัวออกจากที่สอดไว้ใต้ไหล่เมื่อคลำถึงบริเวณหัวนมเพื่อว่าเนื้อเยื่อบริเวณกึ่งกลางด้านในของเต้านมจะแผ่ราบ

สัญญาณเตือนที่ควรไปพบแพทย์

หากพบอาการต่อไปนี้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย:

  • พบก้อนเนื้อในบริเวณที่คลำ
  • มีเลือดหรือของเหลวออกจากหัวนม
  • รูปทรงเต้านมเปลี่ยนไปจากปกติ
  • ผิวหนังบริเวณเต้านมเกิดรอยบุ๋ม ยุบย่น หรือเปลี่ยนสีผิดปกติ

นอกจากการเฉลิมฉลองและให้กำลังใจซึ่งกันและกันแล้ว อย่าลืมหันกลับมาดูแลตัวเอง เพราะการใส่ใจสุขภาพ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องส่วนตัวของผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของครอบครัว คนรัก และสังคมโดยรวม

อย่าลืมตรวจเช็คสุขภาพอย่างเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงโรคร้าย พร้อมรับคะแนน เลื่อนสถานะ และรับสิทธิประโยชน์ในแบบของคุณ

ตรวจสุขภาพขั้นสูง

รับคะแนนเอไอเอ ไวทัลลิตี้ 1,000 คะแนนต่อการตรวจสุขภาพที่กำหนด เช่น ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HIV

Recommendation Prompt

ขอบคุณข้อมูล

  • กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
  • องค์กรอนามัยโลก (WHO)