หากถามคนวัยทำงานทั่วไป ใครๆ ก็คงฝันอยากมีชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข หลายคนคงมีการวางแผนรอวันนั้นกันไว้บ้างแล้ว แต่จะวางแผนอย่างไรให้ใช้ชีวิตในวัยเกษียณได้อย่างมีอิสระทั้งกายและใจไร้กังวลเต็มที่ วันนี้เราจะมาพบเรื่องราวของ “สมศรี” กัน
“สมศรี” เป็นพนักงานในกระทรวงแห่งหนึ่ง เธอมีแฟนที่คบกันมาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย ตอนนี้เขาเป็นวิศวกรของบริษัทใหญ่ เมื่อทำงานได้สักระยะทั้งสองก็รู้สึกมั่นคงพอที่จะตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน
เงินออมของทั้งคู่รวมกับเงินก้นถุงจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายซึ่งมอบให้เป็นสินสอดก็ช่วยปลดหนี้บ้านซึ่งเป็นเรือนหอไปได้มาก สมศรียังคงทำงานที่เดิม ส่วนสามีตัดสินใจร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดบริษัทซึ่งธุรกิจก็ไปได้ดี ผ่านไประยะหนึ่ง เมื่อสมศรีตั้งครรภ์ลูกคนแรก สามีคำนวณรายรับของตัวเองแล้ว ซึ่งคิดว่าพอจะเลี้ยงทั้งครอบครัว ได้อย่างสบายๆ จึงให้สมศรีออกจากงานประจำมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว กิจการของสามีมั่นคงจนปลดหนี้ทั้งบ้านและรถได้หมด ในวัยสามสิบปลายๆ สมศรีได้เป็นแม่บ้านดูแลลูกสองคนชายหญิงซึ่งเกิดตามมาโดยห่างกันไม่นาน ชีวิตครอบครัวของสมศรีงดงามสมบูรณ์แบบ
เวลาผ่านไปไวราวกับติดปีกบิน ไม่ช้าก็ถึงเวลาที่ลูกๆ ต้องเข้าโรงเรียน สมศรีและสามีก็เลือกโรงเรียนที่เหมาะสมที่สุดให้ลูกโดยไม่มีปัญหาใดๆ ลูกๆ ก้าวจากวัยอนุบาลสู่รั้วมหาวิทยาลัย กิจการของสามีก็ยังดำเนินไปได้เรื่อยๆ แม้จะไม่ได้ใหญ่โตเป็นหลักร้อยล้านพันล้านแต่ก็พอที่จะดูแลทั้งครอบครัวได้อย่างสบายๆ สมศรีและสามีแม้จะไม่ลำบากแต่ก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือย ทั้งสองคนวางแผนการเงินเป็นอย่างดี โดยแบ่งเงินเป็นค่าใช้จ่าย ค่าการศึกษาของลูก เงินเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และยังมีส่วนเหลือให้ใช้จ่ายตามใจและท่องเที่ยวได้บ้าง สมศรีและสามีวางแผนไว้ว่าเมื่อลูกๆ เรียนจบ สามีก็จะลดการทำงานแล้วสองตายายก็จะออกท่องโลกด้วยกัน
แต่แผนที่วางไว้กลับไม่เป็นไปตามนั้น วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 กระทบธุรกิจของสามีจนทำให้รายรับลดน้อยลงอย่างมาก สามีของสมศรีทำงานเครียดหนักจนหัวใจวายเฉียบพลัน ไม่ทันได้ไปร่วมงานรับปริญญาของลูกสาวคนเล็ก ส่วนลูกชายคนโตที่เพิ่งเรียนจบก็ไม่ได้เรียนมาในสายงานที่จะรับช่วงกิจการของพ่อได้ สมศรีจึงตัดสินใจขายหุ้นบริษัทนั้นให้เพื่อนของสามีแล้วเก็บเป็นเงินสดแทน สมศรีคิดว่าเงินเก็บรวมกับเงินที่ได้จากการขายบริษัทเกือบ 10 ล้าน ประกอบกับตัวเธออายุห้าสิบต้นๆ และไม่ได้มีภาระอะไรมากมาย น่าจะอยู่ได้อย่างสบายไปตลอดชีวิต
หลังจากสามีสมศรีเสียชีวิตได้สักระยะ ลูกชายก็แต่งงาน สมศรีรับขวัญลูกสะใภ้ด้วยเงินก้นถุงมากพอให้ลูกๆ ซื้อบ้านได้โดยไม่ต้องลำบาก เมื่อลูกชายได้บ้าน ลูกสาวก็ต้องการคอนโดใกล้ที่ทำงานพร้อมกับรถอีกหนึ่งคันเพื่อความสะดวกในการเดินทาง สมศรีจึงซื้อคอนโดให้ลูกโดยไม่คิดมาก เพราะสมศรีคำนวณไว้ว่าตัวเองไม่มีหนี้ เงินเก็บที่มีแม้จะให้ลูกๆ แล้วก็ยังมากพอที่สมศรีจะใช้จ่ายได้โดยไม่ลำบาก
แต่ต่อให้สถานะการเงินมั่นคงเพียงใดก็ยังมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ปี 2554 อุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้บ้านเสียหายอย่างหนัก สมศรีต้องเสียเงินไม่น้อยกับการซ่อมแซมบ้าน จะหวังให้ลูกชายลูกสาวมาช่วย แต่ทั้งสองก็มีภาระค่าใช้จ่ายของตัวเองจนไม่สามารถช่วยค่าซ่อมแซมได้มากนัก
ทุกวันนี้สมศรีซึ่งใช้ชีวิตจากเงินเก็บก้อนสุดท้าย แม้จะมีเงินพออยู่ได้แต่ก็ต้องประหยัดมากขึ้น ดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละปีก็ไม่มากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายประจำวัน สมศรีไม่สามารถท่องเที่ยวในวัยชราได้อย่างที่เคยวาดฝันไว้กับสามี สิ่งที่สมศรีเฝ้าคิดอยู่เสมอคือทั้งที่คิดว่าวางแผนการเงินไว้ดีแล้ว เหตุใดในยามชีวิตบั้นปลายสมศรียังไม่ได้สบายอย่างที่คิด
ชีวิตของ “สมศรี” อาจมีความคล้ายกับชีวิตของใครหลายคนที่มีขึ้นมีลง แปรผกผันไม่แน่นอน และปัจจัยหลายอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุม แต่เราสามารถวางแผนการเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้นเพื่อวัยเกษียณที่มั่นคงได้ โดยวิธีการดังนี้
ก่อนจะวางแผนอนาคตได้ เราจำเป็นต้องรู้ให้แน่ว่าปัจจุบันนี้เราใช้ชีวิตในรูปแบบใด ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในแต่ละเดือนมากน้อยเพียงไหน เป็นค่าใช้จ่ายส่วนใดบ้าง การทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวันก็น่าจะช่วยเรื่องนี้ได้มาก
ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัย 40 ปี 30 ปี หรือวัยเพิ่งเริ่มทำงานในช่วง 20 ปี วัย 30 ปี หรือวัย 40 ปี ก็ไม่มีคำว่าเร็วเกินไปที่จะวางแผนเตรียมไว้สำหรับวัยเกษียณ และในขณะเดียวกันก็ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพราะถึงแม้จะเริ่มตอนอายุ 50 ก็ยังดีกว่ารอจนถึงวัยเกษียณแล้วพบว่าเงินเก็บไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ซึ่งเราสามารถตั้งเป้าหมายคร่าวๆ ได้ตั้งแต่วันนี้ว่า
จากเรื่องของสมศรี เราจะเห็นว่าสมศรีและสามีก็ได้วางแผนทางการเงินก่อนที่สมศรีจะตัดสินใจออกจากงานมาเป็นแม่บ้านเต็มตัวแล้ว รายรับจากกิจการของสามีในช่วงต้นมากพอให้ชีวิตของทั้งคู่อยู่ได้สบาย แต่ทั้งสองไม่ทันได้คาดคิดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันเช่นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 หรือภัยพิบัติน้ำท่วมปี 2554 นอกจากนั้นสมศรียังลืมคิดถึงอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เงิน 10 ล้านที่มีอยู่ เมื่อผ่านไปไม่กี่ปีมูลค่าของเงินก็น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และการไม่ได้หาแหล่งรายได้เสริมเมื่อถึงวัยชราทำให้สถานภาพทางการเงินของสมศรีไม่มั่นคงเท่าที่ควร
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เหตุการณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของสมศรี คือการจากไปของสามีก่อนเวลาอันควร ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ครอบครัวและลูกๆ ยังต้องพึ่งพาหัวหน้าครอบครัว เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนในครอบครัว สมศรีต้องตัดสินใจขายหุ้นในบริษัทที่สามีมีส่วนสร้างขึ้นมากับเพื่อนๆ เพื่อแลกเป็นเงินสด ซึ่งหากสมศรีและสามีได้มีการวางแผนทางการเงินโดยการซื้อประกันชีวิตไว้ก่อน เมื่อสามีจากไป สมศรีอาจไม่จำเป็นต้องขายหุ้นในบริษัทไป เพราะสมศรีและลูกๆ จะได้รับผลประโยชน์การเสียชีวิตจากกรมธรรม์ของสามีมาช่วยพยุงฐานะทางการเงินของครอบครัว ให้สามารถผ่านช่วงเวลาดังกล่าวไปได้
ซึ่งสามีของสมศรีสามารถวางแผนทางการเงินดังกล่าวได้โดยการซื้อประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครองจากเอไอเอที่ให้วงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสม เช่น แบบประกัน AIA 20Pay Life (Non Par) เอไอเอ ตลอดชีพ ชำระเบี้ยประกันภัย 20 ปี (ไม่มีเงินปันผล) หรือ AIA Flexi Saving (Par) เอไอเอ เฟล็กซี่ เซฟวิ่ง ชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปี (มีเงินปันผล) พร้อมเงินคืน ณ ครบกำหนดสัญญา
จากที่กล่าวแล้วว่าวิธีจัดการกับเงินเฟ้อที่ดีที่สุดคือการนำไปลงทุน ถ้าสมศรีนำเงินก้อนไปลงทุน สมศรีก็จะได้รับมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่ถ้าหากสมศรีทำประกันชีวิตแบบควบการลงทุน นอกจากจะได้รับความคุ้มครองชีวิตแล้ว ในวัยบั้นปลายมูลค่าเงินของสมศรียังจะเปลี่ยนไปตามผลตอบแทนจากการลงทุนที่มีการบริหารอย่างมืออาชีพ เอไอเอเองก็มีประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตรวมทั้งมีโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย
ปัจจุบันนี้มีเงินออมและประกันหลายรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของเงินบำนาญในวัยเกษียณที่นอกจากจะช่วยให้คุณออมเงินอย่างเป็นระบบแล้ว บำนาญจากกรมธรรม์เหล่านั้นก็สามารถช่วยเสริมรายได้ในวัยเกษียณให้คุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว และประกันชีวิตแบบบำนาญของเอไอเอ จะช่วยตอบโจทย์ในข้อนี้ให้แก่คุณได้