สุขภาพกาย
นอนตะแคงทำตาเอียงจริงหรือไม่? เช็กท่านอนที่เหมาะกับสุขภาพดวงตา
  • กรรมพันธุ์: หากมีคนในครอบครัวเป็นสายตาเอียง ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นสายตาเอียงด้วย
  • ความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตา: การโค้งหรือความหนาที่ไม่เท่ากันในบริเวณต่างๆ
  • ภาวะอื่นๆ: เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือโรคเบาหวาน

     ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยใดที่ยืนยันความเชื่อมโยงระหว่างการนอนตะแคงและสายตาเอียง ดังนั้นการนอนตะแคงจึงไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้สายตาเอียง ผลของสายตาเอียงจะทำให้เรามองภาพได้ไม่คม เกิดภาพซ้อนบิดเบี้ยว มีอาการตาล้า ปวดศีรษะ มองภาพไม่ชัดไม่คม โดยเฉพาะในเวลาตอนกลางคืนทำให้ต้องหรี่ตามองตลอดเวลา ซึ่งคนที่มีสายตาเอียงมากๆก็จะอันตรายต่อการขับรถตอนกลางคืนนั่นเอง แม้ว่าการนอนตะแคงจะไม่ทำให้เกิดสายตาเอียง แต่ท่าทางการนอนที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อสุขภาพดวงตา ดังนี้:

  • นอนหงาย: เป็นท่าที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพดวงตา เนื่องจากไม่กดทับดวงตา ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และลดโอกาสเกิดริ้วรอย
  • นอนตะแคง: ควรนอนสลับข้างเพื่อไม่ให้กดทับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งนานเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการนอนทับแขนเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
  • หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ: เนื่องจากเป็นท่าที่ไม่ดีต่อสุขภาพดวงตา ใบหน้า และลำคอ เพราะกดทับดวงตาและทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

การดูแลสุขภาพดวงตา

- ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

- พักสายตาเป็นระยะ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้สายตาจ้องมองจอเป็นเวลานาน

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา เช่น ผักและผลไม้

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด

- สวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง

การนอนตะแคงไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้สายตาเอียง ซึ่งสายตาเอียงมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์และความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตา ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ควรเลือกท่าทางการนอนที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ดวงตาเกิดการระคายเคืองและดูแลสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)