การแต่งงานถือเป็นการเริ่มต้นของหลายสิ่ง ทั้งการเริ่มต้นชีวิตคู่ เริ่มต้นการสร้างครอบครัว และเริ่มต้นวางแผนอนาคตไปด้วยกัน การวางแผนทำประกันเพื่อเริ่มต้นสร้างหลักประกันให้ชีวิต ก็ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อเริ่มต้นชีวิตคู่แล้วก็ต้องคำนึงถึงอีกฝ่ายเสมอ และมองเผื่อไปในอนาคตว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับคนใดคนหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งจะดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร จะสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จากรายได้ของคนคนเดียวไหวไหม? รวมถึงในอนาคตหากมีลูกก็ต้องเตรียมพร้อมให้มั่นใจว่าลูกเราจะสามารถได้รับการศึกษาที่ดีและใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง วันนี้เราจึงอยากจะมาชวนคุยเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตหลังแต่งงานว่าสำหรับคู่แต่งงานใหม่แล้วประกันชนิดไหนที่จำเป็นต้องมีบ้าง
1) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
การทำประกันชีวิตไว้รับผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นคนหารายได้หลักของครอบครัว โดยแนะนำให้ทำประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองอย่างน้อยเป็นมูลค่า 3-5 เท่าของรายได้ต่อปี เผื่อในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นกับตัวคุณ ครอบครัวของคุณก็จะได้มีเงินเพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ลำบากไปอีก 3-5 ปี แม้ในเวลาที่คุณไม่อยู่แล้ว
2) ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)
ประกันชีวิตควบการลุงทุนเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต และยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งมาพร้อมความยืดหยุ่นให้คุณสามารถปรับเพื่อเพิ่มหรือลดสัดส่วนความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนได้ตามความต้องการของแต่ละช่วงชีวิต เช่น
1. ตอนแต่งงานใหม่ ๆ อายุยังน้อย สามารถปรับลดความคุ้มครอง และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนให้มากขึ้นเพื่อเร่งสร้างตัว
2. เมื่อมีลูก สามารถเพิ่มความคุ้มครองชีวิตในกรมธรรม์เดิมได้ เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ครอบครัวจะได้ไม่ลำบาก
3. หากคุณหมดภาระทางการเงิน เช่น ผ่อนบ้านหมด หรือ ลูกเรียนจบแล้ว สามารถปรับลดความคุ้มครองได้เช่นเดียวกัน
4. ในกรณีที่คุณประสบปัญหาทางการเงิน ขาดรายได้ สามารถหยุดพักชำระเบี้ยฯ ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนดโดยความคุ้มครองยังคงอยูจากนั้นเมื่อสถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นแล้ว ก็สามารถกลับมาจ่ายเบี้ยฯ ต่อได้
5. สุดท้ายเมื่อคุณมีรายได้มากขึ้น สามารถชำระเบี้ยฯ เพิ่มเติม เพื่อให้กรมธรรม์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ถ้ากรมธรรม์มีมูลค่ามากพอ ก็จะสามารถถอนเงินจากกรมธรรม์ออกมาใช้จ่ายได้อีกเช่นกัน
3) ประกันโรคร้ายแรง
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอนคือเราไม่รู้ว่าจะเจ็บป่วยเมื่อไร แม้จะดูแลตัวเองอย่างดีก็ไม่อาจเลี่ยงจากความเสี่ยงจากโรคร้ายแรงได้ และเมื่อวันนั้นมาถึงเราคงไม่อยากให้ปัญหาสุขภาพของเราต้องสร้างภาระให้กับคนที่เรารัก
การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงมักตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง ระยะเวลาในการรักษาตัวที่ยาวนาน ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น และอาจทำให้ต้องลาออกจากงานและขาดรายได้ และแม้รักษาหายก็มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นซ้ำมากกว่าคนทั่วไป การทำประกันโรคร้ายแรงจะช่วยคุณโอนย้ายความเสี่ยงทางการเงินเหล่านี้ไปยังบริษัทประกันได้ทันที เจ็บป่วยเมื่อไรมีเงินก้อนไว้รองรับ สร้างความอุ่นใจในการใช้ชีวิตคู่ ให้คุณสามารถจับมือเดินไปด้วยกันได้อย่างมั่นคงตลอดไป
หมายเหตุ
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์