บทความ - Best Wealth

เช็กลิสต์ตัวช่วยลดหย่อนภาษีสำหรับคนโสด โสดได้โสดดีเมื่อลดหย่อนภาษีเป็น

4 นาที
ภาษี ลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต

ถ้าคุณเป็นคนโสดที่กำลังคิดจะวางแผนลดหย่อนภาษี บทความนี้จะพาคุณมาดูเช็กลิสต์ตัวช่วยลดหย่อนภาษีสำหรับคนโสด สำหรับปี 2566 เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตโสดได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลภาระทางการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต!

คิดภาษีสไตล์คนโสด

 

ต้องทราบก่อนว่ารายได้ของคุณถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษีหรือไม่?  หากคุณเป็นคนโสดที่มีเงินได้ทั้งปีมากกว่า 120,000 บาท และมีรายได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีที่เงินได้สุทธิมีจำนวนถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ต้องดูว่าอยู่ที่จำนวนเท่าไร เพื่อเสียภาษีตามส่วนที่กำหนดไว้แบบขั้นบันได ตามตารางที่แสดงด้านล่าง

เงินได้สุทธิ (บาท)

อัตราภาษี

0 - 150,000

ได้รับการยกเว้น

150,001 - 300,000

5%

300,001 - 500,000

10%

500,001 - 750,000

15%

750,001 - 1,000,000

20%

1,000,001 - 2,000,000

25%

2,000,001 - 5,000,000

30%

5,000,001 บาทขึ้นไป

35%

ทั้งนี้ภาษีที่แต่ละคนต้องจ่ายขึ้นอยู่กับการวางแผนการเงิน และตัวช่วยลดหย่อนภาษี ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าแล้ว บางรายการยังเป็นการลงทุนที่ช่วยสร้างทรัพย์สิน และเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับเราได้อีกด้วย

เช็กลิสต์ตัวช่วยลดหย่อนภาษีฉบับคนโสด

 

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว กฎหมายได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ที่มีรายได้ทุกคนที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ทันที โดยการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา [W1] (ภ.ง.ด. 90, ภ.ง.ด. 91)

 

2. ลดหย่อนภาษีเลี้ยงดูบิดา มารดา กฎหมายได้กำหนดให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ

  • บิดา มารดาต้องมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป

  • บิดา มารดาจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี

  • จะต้องเป็นบิดา มารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หรือก็คือต้องเป็นพ่อแม่แท้ ๆ นั่นเอง

 

3. ลดหย่อนภาษีจากเงินสมทบประกันสังคม คนโสดที่ทำประกันสังคมตามมาตรา 33, 39 และ 40 จะลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละ 9,000 บาท, 5,184 บาท และ 3,600 บาท ตามลำดับ

 

4. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน ได้ทั้งลดหย่อนภาษี แถมยังได้ลงทุนเพื่ออนาคต โดยกองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้จะต้องอยู่ในกลุ่มกองทุน SSF กองทุน RMF และ กองทุน Thai ESG โดย ทั้ง 3 กองทุน มีความแตกต่างกันจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์

  • กองทุนรวมเพื่อการออม SSF (Super Saving Funds) ลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี (เมื่อรวมค่าลดหย่อนเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) โดยมีเงื่อนไขคือต้องลงทุนอย่างน้อย 10 ปี แต่ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี กองทุน SSF ต้องถือต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปีจึงจะสามารถขายได้

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund) ลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี (เมื่อรวมค่าลดหย่อนเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) โดยมีเงื่อนไขคือต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี และต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี หรือเว้นช่วงได้ไม่เกิน 1 ปี ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี กองทุน RMF ต้องถือต่อเนื่องจนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์จึงจะสามารถขายได้

  • กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) ลงทุนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขคือต้องลงทุนอย่างน้อย 8 ปี จึงจะสามารถขายได้ ทั้งนี้ สำหรับหน่วยลงทุนที่ได้ซื้อตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. 2566 - 31 ธ.ค. 2575

 

5. ลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกัน คนโสดอย่างเรานอกจากต้องรู้จักใช้เงินอย่างฉลาดแล้ว การวางแผนใช้ชีวิตในอนาคตก็เป็นสิ่งสำคัญ การซื้อประกันก็เสมือนเครื่องมือที่ช่วยโอนความเสี่ยงภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้นไปยังบริษัทประกันภัยนั่นเอง สำหรับประกันลดหย่อนภาษีปี 2566 นี้ จะมี 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ประกันชีวิตทั่วไป สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยฯ ที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น หากมีการจ่ายเงินคืนรายปีระหว่างทาง เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยฯรายปี และหากมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา (เช่น จ่ายคืนทุก 3 ปี) เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา และหากทำประกันชีวิตตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้

  • ประกันบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยฯ ที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน  กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองแต่ 10 ปีขึ้นไป และ ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยเท่านั้น มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น จึงจะได้รับผลประโยชน์ และหากทำประกันชีวิตตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้

  • ประกันสุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพที่ทำให้ตัวเอง สามารถลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อร่วมกับประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท (ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้) อีกทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่มาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/ปี (หากมีพี่น้องจะสามารถลดหย่อนสูงสุดตามยอดเงินที่หารเฉลี่ยจากจำนวนพี่น้อง) และพ่อแม่ต้องมีรายได้ในปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท (ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้)

โสดแบบนี้ซื้อประกันแบบไหนดีนะ?

 

สำหรับใครที่วางแผนว่าจะ “โสด” หรือถ้าต้องอยู่เป็นโสดจริง ๆ การมีประกันชีวิตดี ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ในอนาคต  อย่างน้อยก็เอาไว้ลดหย่อนภาษีหรือคิดเสียว่าเป็นการออมเงินในรูปแบบของประกันเพื่อดูแลตัวเองในวัยเกษียณ

 

แนะนำแบบประกัน AIA แจกทริคลดหย่อนภาษีแบบไม่กั๊กสำหรับคนโสด มีให้เลือก ถึง 4 แบบ

1. ประกันสำหรับคนโสดที่เป็นเสาหลัก มีภาระดูแลพ่อแม่หรือพี่น้อง ไม่อยากให้การจากไปเป็นการทิ้งภาระไว้กับคนข้างหลัง ขอแนะนำประกัน AIA Pay Life Plus (Non Par) I ประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครอง สามารถเลือกช่วงเวลาชำระเบี้ยฯ ได้ด้วยตนเองว่าอยากชำระเบี้ยประกันภัย10 ปี, 15 ปี หรือ 20 ปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

2. ประกันสำหรับคนโสดที่อยากมีเงินออม ไม่มีคู่ ไม่ต้องเศร้า เพราะมีเงินให้ใช้ ด้วยประกัน AIA Endowment 15/25 (Non Par) | ประกันชีวิตเพื่อการสะสมทรัพย์ เหมาะสำหรับคนโสดที่ต้องการออมเงินในรูปแบบประกันไว้ใช้ในอนาคต และไม่ต้องการจ่ายเบี้ยฯ ทิ้ง ประกันตัวนี้สามารถลดหย่อนได้ตามเบี้ยฯ ที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3. ประกันสำหรับคนโสดที่ต้องดูแลตัวเอง อยากใช้เงินตามประสาคนโสดแบบสับ ไม่อยากให้เงินเก็บต้องหมดไปกับการรักษาตัวเองในยามเจ็บป่วย เช่น เมื่อต้องแอดมิตหรือผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งสูง ต้องมี AIA Health Happy | ประกันสุขภาพเหมาจ่าย*  ที่ให้ความคุ้มครองแบบ เหมา เบิ้ล คุ้ม นอกจากนี้ยังควรมีประกันโรคร้ายแรงไว้ให้อุ่นใจ เพราะป่วยทีค่ารักษาอาจสูงเป็นล้าน แถมยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หรือในบางกรณีอาจป่วยหนักช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงควรมีประกันที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมอย่าง AIA Multi-Pay CI Plus | ประกันโรคร้ายแรง* เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล คุ้มครองโรคร้ายแรงทุกระดับการเจ็บป่วยสูงสุด 11 ครั้ง** รวมถึงกรณีเข้ารักษาตัวในห้อง ICU อย่างน้อย 5 วันติดต่อกัน*** และค่าใช้จ่ายกรณีป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้****  สามารถลดหย่อนได้ตามเบี้ยฯ ที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท โดยเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

4. ประกันบำนาญ AIA Annuity Sure เป็นคนโสดที่ไม่มีลูกหลานมาคอยดูแล ทำประกัน AIA Annuity Sure | ประกันชีวิตแบบบำนาญ ตัวช่วยวางแผนการเงิน ให้คุณสำราญกับการใช้เงินในวัยเกษียณหลังอายุ 60 ปี ลดหย่อนได้ตามเบี้ยฯ ที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป

การรักษาสิทธิลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรวางแผนไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดที่เราควรได้รับ การวางแผนลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตนั้น นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้วยังเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงในอนาคตด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นคนโสดหรือคนมีครอบครัว ต่างมี “ความเสี่ยง” และความไม่แน่นอนในชีวิตเช่นกัน ยิ่งเป็นคนโสดด้วยแล้ว ยิ่งต้องวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพียงเท่านี้ก็จะได้ใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ไม่ต้องกังวลกับอนาคตที่คาดเดายากแล้ว

หมายเหตุ
• เบี้ยประกันชีวิตสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
​• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง​
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์​
หมายเหตุเพิ่มเติมประกัน AIA Health Happy
*ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกรมธรรม์ เมื่อรวมผลประโยชน์หมวด 1-13 และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (ถ้ามี) ต้องไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดต่อรอบปีกรมธรรม์​
หมายเหตุเพิ่มเติมประกัน AIA Multi-Pay CI Plus
* เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ พลัส เป็นชื่อการตลาดของสัญญาเพิ่มเติม เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ คู่กับสัญญาเพิ่มเติม เอไอเอ โทเทิล แคร์
****คุ้มครอง 8 โรคที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ได้แก่ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์, โรคพาร์กินสัน, โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว, โรคกล้ามเนื้อเสื่อม, ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง, การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง, การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ และการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

ความคุ้มครองที่เราแนะนำ