บทความ - Good Health

รู้ก่อนซื้อ! ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายกับประกันโรคร้ายแตกต่างกันอย่างไร ทำตัวไหนดีกว่ากัน

4 นาที
ประกันโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายคืออะไร สำคัญแค่ไหน

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คือประกันที่จะช่วยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล โดยมีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เราเลือกตั้งแต่หลักแสนถึงหลายล้านบาท ทำให้สามารถครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องคอยกังวลว่าค่าใช้จ่ายจะเกินวงเงิน

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เช่น ประกัน AIA Health Happy หรือ ประกัน AIA Health Saver จะครอบคลุมการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD)* ดังนั้นจึงสบายใจได้ว่าไม่ว่าจะป่วยหนัก เช่น การผ่าตัดต่างๆ หรือ เจ็บป่วยเล็กน้อย อย่าง ไข้หวัด ปวดหัว ปวดท้อง ก็มีประกันช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลให้

ประกันสุขภาพจึงช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษา และยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ไม่จำกัดเพียงโรงพยาบาลตามสิทธิ์เท่านั้น ทำให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว ได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และสะดวกสบาย ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองแบบเหมาๆ ครอบคลุมหลายโรค ได้เข้าถึงการรักษาที่ดี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล

รู้จักประกันโรคร้ายแรง จุดเด่น และสิทธิประโยชน์ต่างๆ

ประกันโรคร้ายแรงเป็นประกันสุขภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นเรื่องความคุ้มครองโรคร้ายแรงโดยเฉพาะ ซึ่งในกรมธรรม์จะมีการระบุชัดเจนว่าคุ้มครองโรคร้ายแรงใดบ้าง โดยจุดเด่นของประกันโรคร้ายแรงคือ ส่วนใหญ่มักจะมีวงเงินคุ้มครองสูงเพื่อให้รองรับค่ารักษาจากโรคร้ายแรง แต่ค่าเบี้ยประกันไม่แพง และมักถูกกว่าประกันแบบเหมาจ่าย คนที่งบน้อยก็สามารถซื้อติดไว้ได้เพื่อให้หมดห่วงทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในวันที่โรคร้ายมาอย่างไม่คาดคิด เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่พบได้บ่อยขึ้นและมีค่ารักษาสูงถึงหลักล้าน ยิ่งหากจำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ค่ารักษาก็อาจพุ่งเกินสิบล้านบาท ซึ่งหากเราไม่ทำประกันไว้ก่อนก็คงคิดไม่ตกว่าจะเอาเงินจากไหนมารักษาตัว โดยเฉพาะในรายที่มีเงินเก็บไม่มากนัก 

สำหรับการจ่ายเงินผลประโยชน์ของประกันโรคร้ายแรงนั้น สัญญาโรคร้ายแรงทั่วไปจะเป็นลักษณะ เจอ จ่าย จบ เช่น AIA CI Plus หรือ AIA SUPERCARE 20/99 เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงที่เข้าเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ ผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับเงินก้อน ทำให้มีความสะดวกในการบริหารค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากค่ารักษา เช่น ค่าใช้จ่ายช่วงพักฟื้น ค่าใช้จ่ายในบ้านในช่วงที่เราขาดรายได้ ค่าเดินทางไปหาหมอ ค่าพยาบาลพิเศษ ค่าคนดูแล ค่าปรับปรุงบ้านเพื่อรองรับการพักฟื้นของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งต่างจากประกันสุขภาพที่จะจ่ายเฉพาะค่ารักษาโดยตรงให้กับสถานพยาบาลเท่านั้น 

อย่างไรก็ตามโรคร้ายแรงเดี๋ยวนี้แม้รักษาหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ โดยเฉพาะสามโรคร้ายแรงยอดฮิต อย่างโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ ประกันโรคร้ายแรงแบบ เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล AIA Multi-Pay CI Plus จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะรองรับการกลับมาป่วยซ้ำของโรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด หรือหากป่วยเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ อีกในอนาคต ก็สามารถเคลมได้สูงสุดถึง 11 ครั้ง และรับผลประโยชน์สูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์

ดังนั้นนอกเหนือไปจากประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายแล้ว ประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นประกันอีกตัวที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายบานปลายต่างๆ ที่ตามมากับโรคร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตจนวงเงินของประกันสุขภาพที่ทำไว้ไม่เพียงพอ หรือค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นก็ตาม เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีและรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและมีโอกาสหายได้ไวขึ้น

สรุปจุดเด่นและข้อแตกต่างของ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย VS ประกันโรคร้ายแรง

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันโรคร้ายแรงซื้อตัวไหนดี?

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงต่างก็มีข้อดีและตอบจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกจึงต้องพิจารณาความเสี่ยงการเจ็บป่วยของเราและความต้องการของเราว่าต้องการความคุ้มครองแบบใดบ้าง ประกันกลุ่มหรือสวัสดิการจากบริษัทที่เรามีอยู่เดิมครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน และตัวเรามีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยมากน้อยเพียงใดเพื่อพิจารณาว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายหรือประกันโรคร้ายแรงที่จำเป็นสำหรับเรามากกว่ากัน 

แต่หากมีกำลังซื้อประกันทั้งสองแบบได้ก็ควรทำทั้งคู่เพื่อให้ครอบคลุม เพราะการมีทั้งประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายควบคู่กับประกันโรคร้ายแรงจะสามารถช่วยอุดรอยรั่วซึ่งกันและกัน ทำให้เราสามารถมีหลักประกันสุขภาพที่มั่นคงและครอบคลุม ทั้งยังนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาทต่อปีอีกด้วย หรือหากซื้อประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงให้คุณพ่อคุณแม่สามารถลดหย่อนเพิ่มได้อีกตามที่จ่ายจริงสูงสุด 15,000 บาท ต่อคน ต่อปี ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด**

หมายเหตุ

*ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่รองรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ได้แก่ AIA Health Happy แผน 25 ล้าน และ AIA Health Saver แผน 400,000 และ 500,000 บาท

**เบี้ยประกันภัยสุขภาพ (ถ้ามี) เฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไขสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด