บทความ - Good Health

5 เหตุผลที่เราควรทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงคู่กัน

7 นาที
ประกันโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ

จากสถิติพบว่าคนไทยยังมีแนวโน้มอัตราการป่วย “โรคมะเร็ง” เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่า ในหนึ่งวันจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่มากถึง 381 ราย โดยทุก ๆ 1 ชั่วโมงจะพบผู้เสียชีวิตจากมะเร็งมากถึง 9 ราย 1 และจากผลสำรวจยังพบว่า คนที่รักษาโรคมะเร็งหายไปแล้วก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำได้อีก

ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทานอาหารที่ไม่มีสารอาหารครบถ้วน การพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง ความเครียดจากการทำงานหนัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมและปัญหามลพิษก็ต่างมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้ทั้งสิ้น

โดยค่ารักษาของโรคมะเร็งนั้นสามารถสูงได้ถึงหลักล้าน
ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในระหว่างพักรักษาด้วยตัวเองต่อที่บ้านที่อาจจะเป็นช่วงที่ขาดรายได้จากการหยุดงานอีกด้วย การมีประกันโรคร้ายแรงควบคู่กับประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีเบาะรองรับค่าใช้จ่ายอย่างเพียงพอ

อ้างอิง
1 สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ สสส. และ กรมอนามัย

เหตุผลที่ 2 : การรักษาในระยะยาวจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก การมีเพียงประกันโรคร้ายแรงแต่ไม่มีประกันสุขภาพอาจไม่เพียงพอ

โดยทั่วไป “ประกันโรคร้ายแรง” จะจ่ายเงินก้อนให้เมื่อตรวจพบโรคร้ายแรงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะทำประกันวงเงินหลักแสนหรือหลักล้านเอาไว้ แต่ก็มีความเสี่ยงว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยอาจจะไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกับโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษายาวนานลากยาวไปเป็นปี ๆ รวมไปถึงกรณีที่จำเป็นต้องใช้วิธีรักษาแบบพิเศษที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ จึงทำให้เงินก้อนที่ได้รับมาอาจหมดก่อนที่การรักษาจะเสร็จสิ้น

การมีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเพิ่มด้วย จึงช่วยให้เรามีเบาะรองรับค่ารักษาในระยะยาว เพราะประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะช่วยดูแลค่ารักษาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ได้ให้แค่ครั้งแรกที่ตรวจพบเท่านั้นเหมือนอย่างประกันโรคร้ายแรง 

เหตุผลที่ 3 : ค่าใช้จ่ายอาจไม่จบแค่ในโรงพยาบาล

ประกันทั้งสองแบบมีวิธีการจ่ายเงินที่แตกต่างกัน โดย “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” จะรับผิดชอบ "ค่าใช้จ่าย" ที่เกิดขึ้นสำหรับการรักษาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่สำหรับ “ประกันโรคร้ายแรง” จะจ่ายให้ในกรณีที่ตรวจเจอตรงตามเงื่อนไข โดยทางบริษัทประกันก็จะจ่าย "เงินก้อน" เป็นเงินสดโดยตรงให้แก่ผู้เอาประกันตามวงเงินที่ทำประกันเอาไว้ ทำให้มีทุนสำหรับนำไปใช้จ่ายในการฟื้นฟูร่างกายหลังการรักษา ทั้งค่ากิน ค่าอยู่ในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงค่าจ้างพยาบาลมาช่วยดูแล เพราะแน่นอนว่าหากป่วยเป็นโรคร้ายแรงแล้วคงไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ รวมถึงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูที่ค่อนข้างนานอีกด้วย

“ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” และ “ประกันโรคร้ายแรง” จึงทำหน้าที่ร่วมกันในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี และสามารถรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างครอบคลุม

เหตุผลที่ 4 : ป้องกันความเสี่ยงได้มากกว่า ไม่สร้างภาระให้ครอบครัว

การเจ็บป่วยของสมาชิกในครอบครัวนั้นส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนทั้งบ้านเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่อาจจะไม่สามารถทำงานและมีรายได้ได้ดังเดิม หรือผู้ป่วยที่ต้องอาศัยการรักษาในระยะยาวและเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ แล้วเมื่อถึงวันนั้น คำถามสำคัญ คือ “สิ่งที่เรามีอยู่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่ ?”

การทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงคู่กัน จึงทำให้มั่นใจได้ว่าอย่างน้อย ๆ เมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน ผลกระทบทางการเงินที่เกิดขึ้นจะถูกจำกัดเอาไว้ เพราะจะมีเบาะที่คอยรองรับทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายระหว่างการพักฟื้น โดยที่ไม่ต้องขายรถ ขายบ้าน หยิบยืม หรือสร้างภาระให้แก่คนรอบข้าง

ดังนั้น การแบ่งเบาภาระทางการเงินของครอบครัวด้วยการทำประกันทั้งสองแบบคู่กัน จึงไม่เพียงแต่เป็นการโอนย้ายความเสี่ยงทางการเงิน แต่ยังเป็นการปกป้องความสุขของครอบครัวในกรณีที่อาจเจอการเจ็บป่วยที่ไม่คาดคิด ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจและสบายใจยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนข้างหลัง

เหตุผลที่ 5 : ลดหย่อนภาษีได้ ยิ่งฐานภาษีสูง ยิ่งคุ้ม

การทำประกันสุขภาพนอกจากจะเป็นการบริหารความเสี่ยงแล้ว เบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปีด้วย ยิ่งฐานภาษีสูงเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น เปรียบเสมือนกับเป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันสุขภาพไปในตัว ช่วยให้มีเงินเหลือสำหรับการไปจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนต่อยอดอื่น ๆ ได้

การทำประกันเป็นสิทธิพิเศษของคนสุขภาพดีเท่านั้น อย่ารอช้าจนสายเกินไป

โดยทั่วไปแล้ว คนที่ต้องการและอยากได้ประกันสุขภาพมักจะเป็นคนที่กำลังป่วย หรือเพิ่งป่วย และโดนค่ารักษาพยาบาลมาอย่างหนักหน่วง แต่บริษัทประกันจะจะไม่รับทำประกันสุขภาพผู้ที่มีอาการป่วยหรือมีโรคที่เคยเป็นมาก่อน หรือถ้าหากรับประกันก็อาจจะต้องมีเรียกเก็บเบี้ยประกันภัย ที่สูงมากขึ้น โดยเฉพาะโรคร้ายแรง ถ้าหากเคยมีอาการเจ็บป่วยมาก่อน เรียกได้ว่าบอกลาการทำประกันสุขภาพได้เลย

ดังนั้น หากคิดจะทำประกันสุขภาพต้องรีบทำตอนที่เรายังมีสุขภาพที่แข็งแรงดี ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคใด ๆ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงได้อย่างเต็มที่ และรีบทำประกันก่อนที่จะสายเกินไป

หมายเหตุ
- ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์