เอไอเอ สมาร์ท ซีเล็ค (ยูนิต ลิงค์)

เลือกอย่างฉลาด ไม่พลาดทุกเป้าหมายทางการเงิน

ช่องทางการขาย

ตัวแทน

icon health

AIA Smart Select (Unit Linked) | ประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์

ประกันชีวิตควบการลงทุน ที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงินอย่างเป็นระบบ คนที่มองหาแผนการศึกษาเพื่อบุตร หรือคนที่เตรียมพร้อมในวัยเกษียณ

ระยะเวลาคุ้มครอง

ตลอดชีพ (ถึงอายุ 99 ปี)

ช่วงอายุผู้ขอเอาประกันภัย

15 วัน - 70 ปี

สิ่งที่คุณจะได้รับ

เอไอเอ สมาร์ท ซีเล็ค (ยูนิต ลิงค์)

 

- เพิ่ม หรือลดความคุ้มครองได้ทุกช่วงชีวิต

- หยุดพักชำระเบี้ยได้ โดยความคุ้มครองยังอยู่

- เลือกลงทุนได้ด้วยตนเอง

- ได้รับโบนัสพิเศษ สูงสุดถึง 5% ของเบี้ยประกัน หากจ่ายเบี้ยต่อเนื่อง

เอไอเอ สมาร์ท ซีเล็ค (ยูนิต ลิงค์)

AIA Smart Select (Unit Linked)

หมายเหตุ
1 สามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้ เมื่อชำระเบี้ยประกันภัยหลัก และมีอายุกรมธรรม์ครบ 3 ปี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
2 สามารถเลือกลงทุนในกองทุนคุณภาพจาก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอไอเอ (ประเทศไทย) จำกัด และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินจากเอไอเอพร้อมให้คำปรึกษากับคุณอย่างมืออาชีพ ดูรายละเอียดกองทุนภายใต้ บลจ.เอไอเอ (ประเทศไทย) คลิก
3 ไม่คิดค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุนบางส่วน หรือทั้งหมด ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
4 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่เคยทำการลดจำนวนเบี้ยประกันภัยหลัก และไม่เคยมีการถอนเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลัก จะได้รับโบนัสของเบี้ยประกันภัยหลัก 2% เมือชำระเบี้ยประกันภัยหลักรายปีงวดที่ 10 – 19 และ 5% เมือชำระเบี้ยประกันภัยหลักรายปีงวดที่ 20 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์

ตารางผลประโยชน์โดยย่อ

หมายเหตุ
* เมื่อผู้เอาประกันภัยอายุครบ 55 ปี ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ และกรมธรรม์มีผลบังคับอย่างน้อย 10 ปี และชําระเบี้ยประกันภัยหลักอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ หากกรมธรรม์อยู่ในระหว่างหยุดพักชําระเบี้ยประกันภัย บริษัทจะไม่จ่ายโบนัสพิเศษยามเกษียณ
** ภายใต้เงื่อนไขเมื่อผู้เอาประกันภัย 1) ได้ชําระเบี้ยประกันภัยหลักครบตามกําหนดชําระเบี้ยประกันภัยทุกงวด และ 2) ไม่เคยมีการถอนเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลัก และ 3) ไม่เคยทําการลดจํานวนเบี้ยประกันภัยหลัก
*** ภายใต้เงื่อนไขเมื่อผู้เอาประกันภัย ไม่เคยทำการลดเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง และไม่เคยมีการถอนเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง
**** ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ และค่าการประกันภัยสำหรับความคุ้มครองชีวิต (COI) สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 172)
 
1. ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาและทำความเข้าใจในเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว โปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์
2. ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
3. การทำประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์ ไม่ใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยง ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงศึกษา อ่าน และทำความเข้าใจในเอกสารประกอบการเสนอขายและหนังสือชี้ชวนของกองทุน ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยและลงทุน ซึ่งผู้ขอเอาประกันภัยอาจได้รับเงินคืนมากกว่าหรือน้อยกว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัย ที่ถูกจัดสรรเข้ากองทุนรวม โดยหากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมมีกำไร
ผู้ขอเอาประกันภัยจะได้รับผลตอบแทนสูง  แต่หากผลการดำเนินงานของกองทุนรวมขาดทุน ผู้ขอเอาประกันภัยจะได้ผลตอบแทนต่ำหรือบางกรณีอาจขาดทุน กล่าวคือ ไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน ทั้งนี้ กรมธรรม์นี้ไม่มีการรับประกันเงินส่วนของเงินลงทุน นอกจากนี้ กรณียกเลิก/เวนคืนกรมธรรม์ ก่อนครบกำหนด ผู้ขอเอาประกันภัยอาจจะได้รับเงินคืนเป็นจำนวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายไปแล้วอีกด้วย
4. ผู้ขอเอาประกันภัยควรชำระเบี้ยประกันภัยตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ของแบบประกันภัย หากมีการยกเลิกหรือหยุดชำระเบี้ยประกันภัยก่อนกำหนด อาจทำให้เกิดขาดทุนหรือเสียผลประโยชน์ได้
5. ผู้ขอเอาประกันภัยควรพิจารณาถึงความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย เนื่องจากกรมธรรม์นี้เหมาะสำหรับการออมเงินระยะยาว มีค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากกรมธรรม์ ซึ่งอาจมีผลให้มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ และมูลค่าจากการถอนเงินจากกรมธรรม์ มีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษารายละเอียดจากตารางค่าธรรมเนียมในการถอนเงินจากกรมธรรม์
6. การถอนเงินจากกรมธรรม์บางส่วน หรือการใช้สิทธิถอนเงินจากกรมธรรม์อัตโนมัติ จะทำให้มูลค่าบัญชีกรมธรรม์ลดลง ซึ่งส่งผลให้ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตลดลง และกรมธรรม์อาจสิ้นผลบังคับเร็วขึ้น
7. ผู้ขอเอาประกันภัยเป็นผู้เลือกลงทุนในกองทุน เพื่อวัตถุประสงค์ในการลงทุนของตนเอง และเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนเอง ทั้งนี้ ผู้ขอเอาประกันภัยควรทำความเข้าใจในกองทุน โดยสามารถดูระดับความเสี่ยงและรายละเอียดของกองทุนจากหนังสือชี้ชวนของกองทุน
8. ในระหว่างสัญญากรมธรรม์ กรมธรรม์อาจจะสิ้นผลบังคับในปีใดปีหนึ่งก็ได้หากมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเท่ากับหรือน้อยกว่าศูนย์ หรือมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนมีไม่เพียงพอที่จะหักค่าธรรมเนียมกรมธรรม์
9. กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการ ดังนั้น บริษัทประกันชีวิตและบริษัทจัดการจึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวมควบรวมกรมธรรม์ และจะไม่สามารถนำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปใช้ประโยชน์เพื่อการชำระหนี้ของตนเอง
10. จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ผู้ขอเอาประกันภัยชำระจะถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ และค่าการประกันภัยโดยจำนวนเงินที่เหลือจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวมตามที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือก
11. กรณีกองทุนที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือกเป็นกองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ขอเอาประกันภัยอาจขาดทุน หรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
12. การพิจารณารับประกันภัยให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

ข้อมูลสำคัญอื่นๆ

การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-Cost Averaging): การกระจายความเสี่ยง โดยการทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด

- สิทธิในการลดหย่อนภาษี: สามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ และค่าการประกันภัย ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อกำหนดของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172)

1. เอไอเอ มีวิธีการจัดสรรเบี้ยประกันเพื่อไปลงทุนในกองทุนรวมอย่างไร?

เอไอเอ จะคิดค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ ดังนี้

• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย

• ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์

• ค่าการประกันภัย (COI) ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และจำนวนเงินเอาประกันภัย โดยอ้างอิงตามอัตราค่าการประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

หลังจากนั้นจะนำเบี้ยประกันสุทธิที่เหลือไปลงทุนในกองทุนรวมตามสัดส่วนที่คุณกำหนดตามใบคำร้องฯ และเราจะออกหนังสือ/จดหมายแจ้งการจัดสรรเบี้ยประกันเพื่อไปลงทุนในกองทุนรวมให้คุณทราบภายหลังจากการลงทุน

 

2. มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน คืออะไร?

มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน (Redemption Value) หมายถึง ผลรวมของจำนวนหน่วยลงทุนคูณกับราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน ณ วันที่ประเมินราคาของแต่ละกองทุนภายใต้กรมธรรม์

• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเพิ่ม/ถอนเงินออม การเพิ่ม/ลดความคุ้มครอง จำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นต่ำและขั้นสูงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด

• สามารถหยุดพักชำระเบี้ยได้ เมื่อชำระเบี้ยประกันภัยหลัก และมีอายุกรมธรรม์ครบ 3 ปี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

• การรับประกันภัยขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และกฎเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัยของบริษัท

• ผลิตภัณฑ์นี้เป็นการประกันชีวิต มิใช่การฝากเงิน

• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์ และเงื่อนไขที่เอไอเอกำหนด

• จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด 60 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลัก สำหรับเพศชายและเพศหญิงอายุ 15 วัน - 30 ปี สุขภาพมาตรฐานเท่านั้น

• ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

• ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ และค่าการประกันภัยสำหรับความคุ้มครองชีวิต (COI) สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 172)

• ค่าการประกันภัยสำหรับสัญญาเพิ่มเติมแบบชำระค่าการประกันภัยโดยการขายคืนหน่วยลงทุน (COR) (ถ้ามี) เฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไขสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

• การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนรวมภายใต้กรมธรรม์เอไอเอยูนิต ลิงค์ (aia.co.th)

บทความที่น่าสนใจ