บทความ - Good Health

รู้หรือไม่? วัยไหนก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย

6 นาที
โรคร้ายแรง ประกันโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง AIA MPCI AIA MPCI UDR เจอจ่ายหลายจบ มะเร็ง

โรคมะเร็งในเด็ก
พบได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยพบว่าโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็กคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รองลงมา ได้แก่ โรคมะเร็งสมอง และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ข่าวดีคือโรคมะเร็งในเด็กสามารถรักษาหายได้สูงถึง 70%

โรคมะเร็งในวัยทำงาน
โรคมะเร็งในวัยทำงานอาจพบได้ไม่บ่อยเท่าโรคมะเร็งในผู้สูงวัย แต่จำนวนของผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ในวัยนี้ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ที่เสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ในปี 2564 ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 35-40 ปี ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกนี้ก็เป็นโรคมะเร็งที่หญิงไทยเป็นกันมากที่สุดรองจากโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งในวัย50+
ผู้สูงวัยที่อายุ 50 ปีขึ้นไปมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าวัยอื่น ๆ โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า โรคมะเร็งที่คนไทยเป็นกันมาก ได้แก่ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบในผู้สูงวัยมากที่สุด
ถึงแม้จะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในกลุ่มผู้สูงวัยมากที่สุดก็ตาม เราก็ไม่ควรรอให้อายุเยอะแล้วค่อยทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง แต่ควรทำประกันเหล่านี้ในขณะที่สุขภาพยังแข็งแรง เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย จึงอาจทำให้ทำประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงได้ยาก อีกทั้งยังไม่มีใครรู้ได้ว่าโรคร้ายจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อใด

ขอแนะนำ “AIA MULTI-PAY CI PLUS” ประกันโรคร้าย เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล ที่พร้อมคุ้มครองโรคมะเร็งทุกระยะ และครอบคลุมไปถึง 62 โรค/การรักษา ใน 6 กลุ่มโรคร้ายแรง รวมถึงการเป็นซ้ำ โดยคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 99 ปี เบี้ยเริ่มต้นเพียงปีละหลักพัน บนความคุ้มครองหลักล้าน

หมายเหตุ
1. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์ว่า เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง และหรือโรคร้ายแรงระดับรุนแรงตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากสาเหตุและหรือเหตุการณ์เดียวกัน บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้สูงที่สุดเพียง 1 โรคเท่านั้น และให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
 
กรณีที่ 1: ผลการวินิจฉัย “โรคมะเร็งระยะลุกลาม” และ “โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม” ระบุว่า เกิดขึ้นที่อวัยวะเดียวกัน ข้างเดียวกัน และได้รับการรักษาหรือผ่าตัดในครั้งเดียวกัน
 
กรณีที่ 2: การบาดเจ็บ “แผลไหม้ฉกรรจ์” และ “แผลไหม้ชนิดรุนแรงน้อย” ที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกัน
 
กรณีที่ 3: การเจ็บป่วยเป็น “โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย” และ “การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง” ซึ่งเป็นการรักษาครั้งเดียวกัน
 
กรณีที่ 4: “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” และต่อมาผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังต่อไปนี้ “อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา” หรือ “การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ” หรือ “การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” หรือ “ตาบอด” โดยโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังกล่าวเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับ “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง”
 
ทั้งนี้ จะถือว่าการจ่ายผลประโยชน์ใน 4 กรณีนี้เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงในแต่ละกรณีเท่านั้น
 
2. ผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง หากโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลางดังกล่าวอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรงเดียวกันกับโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลางหรือโรคร้ายแรงระดับรุนแรงที่บริษัทเคยจ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว ทั้งนี้ สัญญาเพิ่มเติมนี้ยังคงมีผลบังคับหากผู้เอาประกันภัยมีการชำระเบี้ยประกันภัยต่อไป
 
3. ผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง หากโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังกล่าวอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรงเดียวกันกับโรคร้ายแรงระดับรุนแรงที่บริษัทเคยจ่ายผลประโยชน์ไปแล้ว ยกเว้น กรณีเข้าเงื่อนไขของผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI)
 
บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังต่อไปนี้ “ภาวะอะแพลลิก” หรือ “การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ” หรือ “การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” เฉพาะกรณีที่
3.1 เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงครั้งแรก หรือ
3.2 เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์เป็นครั้งแรกในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าการเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงดังกล่าวได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ
 
4. ผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) หลังจากบริษัทได้จ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้เป็นครั้งแรกแล้ว “โรคมะเร็งระยะลุกลาม” “กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด” “โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน” และต่อมาเกิดการกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรงที่บริษัทได้เคยจ่ายผลประโยชน์ไปแล้วภายใต้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงอีก ในอัตราร้อยละ 100 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สูงสุดโรคละ 1 ครั้ง
 
ทั้งนี้ ผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) จะไม่นำระยะเวลาห้ามเคลม (No Claim Period) มาพิจารณา และการจ่ายผลประโยชน์การกลับมาเป็นซ้ำของโรคร้ายแรงระดับรุนแรง (Relapsed CI) แต่ละครั้งจะถูกนับและใช้สิทธิภายใต้จำนวนครั้งสูงสุด (6 ครั้ง)
 
• ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครอง ของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
• ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
 
ขอบคุณข้อมูลทางสถิติจาก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์

สนใจซื้อประกัน ให้เราติดต่อกลับ​

error icon
เกิดข้อผิดพลาด โปรดลองอีกครั้ง
info icon
You are inquiring about