รู้ได้อย่างไรว่าเรานั้นอยู่ในภาวะโรคอ้วน?
ค่า BMI เป็นเกณฑ์ที่สามารถบ่งบอกว่าเราเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
คนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ คนที่เป็นโรคอ้วน เสี่ยงมีอาการรุนแรงเมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19
เราสามารถใช้ ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นเกณฑ์เบื้องต้นในการดูว่า เราเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนหรือไม่ โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง เช่น น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 162 เซนติเมตร คำนวณดัชนีมวลกาย = (60 ÷ 1.62) ÷ 1.62 = 22.86
รู้ได้อย่างไรว่าเรานั้นอยู่ในภาวะโรคอ้วน?
ค่า BMI เป็นเกณฑ์ที่สามารถบ่งบอกว่าเราเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) | อยู่ในเกณฑ์ |
น้อยกว่า 18.5 | ผอม |
18.5 - 22.9 | มาตรฐาน |
23.0 - 24.9 | น้ำหนักเกินหรือท้วม |
25.0 – 29.9 | อ้วน |
30.0 -39.9 | อ้วนมาก |
40.0 | อ้วนอันตราย |
แม้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จะใช้บอกว่าเราเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินหรือไม่ แต่อาจไม่เพียงพอ เพราะแต่ละคนมีปริมาณไขมันส่วนเกินสะสมและมวลกล้ามเนื้อที่แตกต่างกันออกไป
วัดรอบเอวประกอบการเช็คความเสี่ยงโรคอ้วน
อีกหนึ่งเกณฑ์ชี้วัดรูปร่างมาตรฐานที่สามารถใช้ร่วมกับการวัดค่า BMI นั่นก็คือ การวัดรอบเอว ซึ่งรอบเอวมาตรฐาน ไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร)
ทั้งนี้เกณฑ์การวัด BMI และรอบเอว เป็นเพียงเกณฑ์สำหรับประเมินเบื้องต้นเท่านั้น การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อวัดค่าความดันโลหิต คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด เป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงสุขภาพโดยรวม
2 เหตุผลหลักที่ทำไมคนที่มีน้ำหนักมากหรือเป็นโรคอ้วนจึงมีความเสี่ยงมากกว่า
1. กลไกสะสมไขมันของความอ้วนจะกระตุ้นทำให้เกิดกระบวนการดื้ออินซูลิน และการอักเสบเรื้อรังไม่รุนแรง กระทบต่ออวัยวะ และเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งแปลว่าร่างกายจะมีความสามารถในการต่อสู้กับ ไวรัส COVID-19 ได้น้อยลง เพราะเซลล์ภูมิคุ้มกันของเราจะน้อยลง และทำงานไม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2. ถ้าไขมันส่วนเกินเกิดการสะสมบริเวณพุงและช่องท้อง (Visceral Fat) จะเกิดความจำกัดในการไหลเวียนของอากาศและออกซิเจนไปยังปอด ทำให้ปริมาณอากาศในปอดลดน้อยลง และหายใจลำบาก
ขอบคุณข้อมูลจาก เครือข่ายคนไทยไร้พุง