กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

PROVIDENT FUND MANAGEMENT SERVICES

icon health

จุดเด่นผลิตภัณฑ์

เป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้สำหรับลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างมีหลักประกันทางการเงิน และจูงใจให้ทำงานกับนายจ้างนานยิ่งขึ้น

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณอายุ ลาออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเป็นหลักประกันให้ครอบครัวในกรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต

สิทธิประโยชน์ต่อนายจ้าง
- บริษัทสามารถนำเงินสมทบมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี
- ช่วยลดภาระด้านการบริหารเงินลงทุน การจัดทำบัญชี และรายงานต่างๆ
- สะท้อนความมั่นคง และความเอาใจใส่ของนายจ้างต่อลูกจ้าง
- ช่วยลดปัญหาข้อพิพาทแรงงาน และปัญหาการจัดการด้านสวัสดิการการเข้า-ออกของลูกจ้าง

สิทธิประโยชน์ต่อลูกจ้าง
- ได้รับเงินสมทบจากนายจ้างเพิ่มจากเงินเดือนประจำ
- มีเงินก้อนไว้ใช้เมื่อออกจากงาน ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุ
- ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ไม่ต้องเสียภาษี (ตราบเท่าที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในกองทุน)
- เงินสะสมที่สมาชิกนำส่งเข้ากองทุน สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง หรือไม่เกิน 500,000 บาท (เมื่อนับรวมกับ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF))
- กรณีสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุน เนื่องจาก ทุพพลภาพ เสียชีวิต หรือ ลาออกจากงาน โดยมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เงินก้อนที่ได้รับจากกองทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน

ประเภทกองทุนที่นำเสนอ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถบริหารจัดการได้ 2 รูปแบบ คือ

1. กองทุนเดี่ยว
เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับบริษัท หรือกลุ่มบริษัท ที่มีเงินกองทุนอยู่เดิมมากกว่า 100 ล้านบาทขึ้นไป โดยที่นโยบายการลงทุนจะเป็นการกำหนดร่วมกันระหว่างคณะกรรมการกองทุน และ เอไอเอ

2. กองทุนร่วม
เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ยังไม่เคยจัดตั้งกองทุนมาก่อน หรือ มีขนาดกองทุนน้อยกว่า 100 ล้านบาท โดยการนำเงินกองทุนของแต่ละบริษัทเหล่านั้นมาบริหารรวมกัน ซึ่งจะทำให้กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถกระจายการลงทุนและความเสี่ยงได้ดีขึ้น

ทำไมบริษัทชั้นนำจึงไว้วางใจเอไอเอในการบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เป็นบริษัทชั้นนำระดับสากล มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง
- มีประสบการณ์การลงทุนในประเทศไทยยาวนานกว่า 80 ปี และจัดเป็นนักลงทุนสถาบันรายใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ
- มีเครือข่ายและมุมมองการลงทุนระดับสากล ด้วยทีมงานมืออาชีพและมีประสบการณ์อันยาวนาน
- มีกระบวนการวิเคราะห์การลงทุน และการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพสูง
- การบริหารงานโปร่งใส มีจรรยาบรรณ มีระบบตรวจสอบที่เข้มงวด ปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- ให้บริการที่ดีเลิศและครบวงจร ทั้งการบริหารจัดการลงทุนและทำทะเบียนสมาชิก (One Stop Service) รองรับ Employee’s Choice ได้หลายรูปแบบ

ฝ่ายจัดการกองทุน
(662) 634-8888 กด 2

ระบบข้อมูลและสอบถามยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund Balance Enquiry)
สำหรับสมาชิก (For Member)
สำหรับนายจ้าง (For Employer)

 

คำเตือน
- ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลการลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน

ข้อมูลสำคัญอื่นๆ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร

เป็นการออมเงินจากทั้ง 2 ฝ่าย คือ
1. ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2-15 ของค่าจ้างพื้นฐานต่อเดือน
2. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 2-15 ของค่าจ้างพื้นฐานต่อเดือน

โดย เอไอเอ (บริษัทจัดการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล) จะนำเงินทั้ง 2 ส่วนไปบริหารจัดการลงทุนตามนโยบาย/แผนการลงทุนที่บริษัทนายจ้างหรือสมาชิกเลือกไว้

- มีสถานะเป็นนิติบุคคล : กองทุนที่จดทะเบียนแล้วจะมีสถานะเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากทรัพย์สินของนายจ้าง ลูกจ้าง และบริษัทจัดการ โดยสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้ และไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี

- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. นายจ้างสามารถตั้งกองทุนให้กับพนักงานและบริหารเองได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กำหนดว่า การจัดการกองทุนต้องดำเนินการโดยบุคคลซึ่งมิใช่นายจ้าง และต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

2. ลูกจ้างรวมตัวกันจัดตั้งกองทุนเอง โดยนายจ้างไม่สมทบเงินเข้ากองทุนได้หรือไม่

ไม่ได้ เนื่องจากตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 กำหนดว่า กองทุนจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนนั้น

3. กฎหมายบังคับให้ทุกบริษัทต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่
กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยกเว้น บริษัทที่ประสงค์จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์การนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

4. ลูกจ้างจะได้รับเงินเท่าใดเมื่อออกจากกองทุน
ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ จะได้รับเงินสะสมของตนเองพร้อมผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งจำนวน แต่ในส่วนเงินสมทบของนายจ้างและผลประโยชน์เงินสมทบ จะได้รับตามเงื่อนไขที่ระบุในข้อบังคับกองทุน ซึ่งแต่ละนายจ้างจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน

5. ลูกจ้างจะได้รับเงินเมื่อใด
เอไอเอ จะดำเนินการจ่ายเช็คให้สมาชิกภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ โดยที่คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้แจ้งการสิ้นสมาชิกภาพให้บริษัทจัดการทราบ

6. หากลูกจ้างเสียชีวิต เงินกองทุนจะตกเป็นของใคร
เอไอเอ จะจ่ายเงินกองทุนให้กับผู้รับประโยชน์ ตามหนังสือระบุผู้รับประโยชน์* ที่สมาชิกเคยแจ้งไว้ แต่หากกรณีที่สมาชิกมิได้ระบุผู้รับประโยชน์ กฎหมายระบุให้จ่ายเงินให้บุคคลตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1) บุตรให้ได้รับสองส่วน แต่ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน
2) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน
3) บิดามารดา หรือ บิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน
ถ้าผู้ตายไม่มีบุคคลดังกล่าวใน 1) 2) หรือ 3) หรือมีแต่ได้ตายไปก่อน ให้แบ่งเงินที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะได้รับให้แก่บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ตามส่วนที่กำหนดข้างต้น

*หนังสือระบุผู้รับประโยชน์ สมาชิกสามารถระบุให้ใครก็ได้ กี่คนก็ได้ แต่เมื่อรวมสัดส่วนทุกคนแล้วต้องได้ 100% โดยสมาชิกสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์เมื่อใดก็ได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใหม่ส่งให้คณะกรรมการกองทุนหรือฝ่ายบุคคล

บทความที่น่าสนใจ